ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ASEN University Network Quality Assurance : AUN_QA

              เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEN University Network : AUN) เป็นความร่วมมือของสถาบันระหว่างประเทศสามชิกประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 (ค.ศ. 1995) รวมทั้งสิ้น 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายเป็น 27 สถาบัน ตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุผลในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดย AUN มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ดังนี้

1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักปราชญ์ นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค

2.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิชาการและอาชีพในภูมิภาค

3.ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระหว่างชุมชนนักวิชาการอาเซียน

              กิจกรรมหนึ่งของ AUN คือ เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเชียน (Asean University Network Quality Assurance : AUN_QA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ระบบการประกันคุณภาพของ AUN_QA ประกอบด้วย 3 มิติ คือ 

1. เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา (Strategic)

2. เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน (Systemic)

3. เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร (Tactical)

             สำหรับ AUN_QA ในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิก 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา ส่วนรูปแบบการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยพิจารณาคุณภาพภายใน 3 มิติ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ โดยมีรูปแบบเริ่มจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะให้เกิดกับตัวผู้เรียน การแปลงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปสู่โปรแกรมการศึกษาและวิธีที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมการศึกษาของ AUNQA ใช้ระบบการประเมินจากคะแนนเต็ม 7 ในลักษณะ Rating scale ประกอบด้วยเกณฑ์ 15 เกณฑ์ แต่ละเกณฑ์ยังประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาย่อย ๆ ลงไปอีก เกณฑ์หลักในการประเมินคุณภาพ มีดังนี้

             รูปแบบและแนวทางการประกันคุณภาพของ AUNQA สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้

1. Expected learning outcome 

2. Programme specification

3. Programme structure and content 

4. Teaching and learning strategy

5. Student assessment    

6. Academic staff quality

7. Support staff quality 

8. Student quality

9. Student advice and support  

10.Facilities and infrastructure

11.Quality assurance of teaching and learning process

12.Staff development activities  

13.Stakeholders feedback

14.Output 

15.Stakeholders satisfaction

 

เกณฑ์มาตรฐานอาเซียน (AUN_QA) 
เกณฑ์มาตรฐานอาเซียน ด้านการผลิตบัณฑิต
แบบประเมินตนเองตามปัจจัยคุณภาพของระบบ AUN_QA
เกณฑ์มาตรฐานอาเซียน 2015 (AUNQA_V.3_2015)